วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

มิวสิควิดีโอจากยูทูป


ชีวิตเป็นของเรา (Cover) - Midnight Band




          เหตุผลที่เลือกเพลงนี้เพราะ ต้องการสื่อให้รู้ว่าหากคุณต้องการที่จะเริ่มต้นทำอะไรก็ควรพิจารณาและรีบทำมันให้ดีที่สุด  เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะมีเวลาอยู่กับสิ่งที่มี สิ่งทำอยู่ได้อีกน้อยหรือมากเพียงใด  "ชีวิตที่อยากเป็น ชีวิตที่เป็นของเรา"  ใช้ซะ !! เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกทางเดินของเรา

เทคโนโลยีสารสนเทศที่น่าสนใจกับหัวข้อ ระบบฝึกจัดวางท่าทางอัจฉริยะ - ฉลาดคิด


ระบบฝึกจัดวางท่าทางอัจฉริยะ - ฉลาดคิด





          ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของอาชีพ ทันตแพทย์หรือหมอฟันที่หลายคนไม่เคยรู้ ก็คือความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณคอและหลังส่วนบน จากการนั่งปฏิบัติงาน ในท่าแบบเดิม ๆ เป็นเวลานาน  
ปัญหานี้พบมากและเป็นกันทั่วโลก และกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทันตแพทย์ต้องเกษียณอายุก่อนเวลาอันควร
          “ผศ.ทพญ.ดร.พรสวรรค์ ธนธรวงศ์” จากภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกว่านี่คือที่มาของการพัฒนาระบบฝึกจัดวางท่าทางอัจฉริยะ (Intelligent Posture Trainer) ที่ตนเอง และ รศ.ทพญ.ดร.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ฝึกการจัดวางท่าทางในการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ที่ดีขึ้น
          โดยตัวระบบประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก ๆ  2 ส่วนด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ที่มีเซ็นเซอร์ในการเก็บข้อมูล จากองศาของการไหวของศีรษะและหลัง ในแนวก้ม-เงย เอียงซ้าย-ขวา และซอฟต์แวร์ ที่มีจุดเด่นคือสามารถพัฒนาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  
          ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่นที่ 3 ที่อยู่ในรูปแบบไร้สาย  ส่งข้อมูลผ่านบลูทูธไปยังสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นไว้
ส่วนตัวฮาร์ดแวร์ออกแบบให้ติดตั้งได้กับแว่นตาของทันตแพทย์ สั่งให้ทำงานได้ทั้งแบบตั้งค่าเองหรือแบบประมวลผลอัจฉริยะ  
           เมื่อผู้ใช้มีองศาการเคลื่อนไหวของศีรษะหรือหลังมากกว่าที่กำหนด   หรืออยู่ในท่าที่ผิดปกติเป็นเวลานาน ๆ ระบบจะทำการเตือนผ่านสมาร์ทโฟนทั้งในรูปแบบเสียงหรือสั่น นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งจะบอกได้ว่ามีความเสี่ยงในการเกิดอาการโครงร่างและกล้ามเนื้อผิดปกติมากน้อยแคไหน
           ผู้วิจัยบอกว่า ระบบนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านมา เวอร์ ชั่นแรกได้รับรางวัล เหรียญทองสิ่งประ ดิษฐ์นานาชาติที่เกาหลีใต้ เมื่อปี 2555 ส่วนเวอร์ชั่น 2 เป็นการพัฒนาแบบอุปกรณ์แยกแต่ได้ผลไม่เป็นที่พอใจ  ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่นที่ 3 หรือแบบไร้สาย ที่เพิ่งคว้ารางวัลเหรียญเงินจากงานแสดงสิ่งประดิษฐ์เจนีวา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
           ระบบนี้ได้นำมาทดสอบใช้งานกับนิสิตทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อฝึกท่าทางที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ  ซึ่งผลการศึกษาออกมาเป็นที่น่าพอใจ
          สำหรับอนาคต ผู้วิจัย บอกว่า สามารถนำไปประยุกต์ไช้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยพาร์คินสัน การป้องกันเด็กตกเตียง และการฝึกท่านั่งทำงานที่ถูกต้องสำหรับพนักงานออฟฟิศ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการพัฒนาบุคลิกภาพได้อีกด้วย.
      นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dailynews.co.th/technology/230690


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฏของมัวร์ ( Moore's Law )

กฎของมัวร์
( Moore's Law. )


     กฎของมัวร์  คือ   กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาวโดยมีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี ซึ่งกฎนี้ได้ถูกต้องชื่อตาม  กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น

     เมื่อ 40 ปีที่แล้ว มีการคิดค้น "กฎของมัวร์ (Moore 's law)" ขึ้น โดย เจ้าของทฤษฎีคือ กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ ( Moore 's law) ขึ้น ซึ่งเขาที่ทำนายว่า ทุก ปี หรือ 24เดือน จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น หลังจากที่มีการค้นพบวงจรรวม(ไอซี) เพียงแค่ ปี

     กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม จะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุกสองปี และมีผู้นำกฎนี้มาใช้กับ eCommerce ดังนี้
กำลัง (หรือ ความจุ หรือ ความเร็ว) ของสิ่งต่อไปนี้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18เดือน
1. ความเร็ว Computer Processor
2. แบนด์วิธการสื่อสารและโทรคมนาคม
3. หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
4. ความจุฮาร์ดดิสก์

      สรุป  :   ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นไปตามกฎของมัวร์(Moore’s law)อย่างเห็นได้ชัด เช่น ความเร็วประมวลผล ความจุของแรม เซ็นเซอร์ หรือแม้แต่จำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนอย่างคร่าว ๆ (ยังมีกฎอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นราคาต่อหน่วย) การพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชื่อของกฎถูกตั้งตามชื่อของ อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัอินเทล กอร์ดอน มัวร์ (Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกรอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของแผนที่จะเป็นเป้าหมายของของการวิจัย และพัฒนา


ขอบคุณข้อมูลจาก  http://bc132.blogspot.com/2011/07/2-moores-law.html

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูล Ascll  และ Unicode

รหัส ASCII (American Standard Code For Information Interchange)

        ASCII อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่าASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย




รหัสยูนิโค้ด (Unicode)


      รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือใช้เลขฐานสอง 16 บิตในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้ คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร (font) ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง 65,536 ตัว ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย





ตอบคำถาม   ชื่อ - สกุล ของน.ศ. ในภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่แทนด้วยรหัส Ascll ใดบ้าง และใช้พื้นที่จัดเก็บกี่ไบต์

CHANAWAN SUTTIPITAK

C : 0100 0011
H : 0100 1000
A : 0100 0001
N : 0100 1110
A : 0100 0001
W : 0101 0111
A : 0100 0001
N : 0100 1110
Splash = 0010 0000
S : 0101 0011
U : 0101 0101
T : 0101 0100
T : 0101 0100
I : 0100 1001
P : 0111 0000
I : 0100 1001
T : 0101 0100
A : 0100 0001
K : 0100 1011


CHANAWAN SUTTIPITAK    มีทั้งหมด 19 Byte
หาค่าโดย  1 ตัวอักษร เท่ากับ 1 Byte
1 Byte เท่ากับ 8 Bit 
19 คูณ 8 เท่ากับ 152 Bit 




แบบทดสอบ

กรุณาคลิ๊กที่นี้

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ

บิตตรวจสอบ ( Parity Bit )
    
     ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือ พาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์

      สำหรับบิตตรวจสอบ จะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ ( Even Parity )
2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ ( Odd Parity )
     ในระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบเลขฐานใดในการจัดการกับข้อมูล มีหลักการปฏิบัติการกับตัวเลขอย่างไร รวมทั้งเทคนิคการเก็บอักขระในคอมพิวเตอร์และเทคนิคของบิตตรวจสอบ