รหัสแทนข้อมูล Ascll และ Unicode
รหัส ASCII (American Standard Code For Information Interchange)
ASCII อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่าASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย
รหัสยูนิโค้ด (Unicode)
รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือใช้เลขฐานสอง 16 บิตในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้ คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร (font) ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง 65,536 ตัว ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย
ตอบคำถาม ชื่อ - สกุล ของน.ศ. ในภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่แทนด้วยรหัส Ascll ใดบ้าง และใช้พื้นที่จัดเก็บกี่ไบต์
CHANAWAN SUTTIPITAK
C : 0100 0011
H : 0100 1000
A : 0100 0001
N : 0100 1110
A : 0100 0001
W : 0101 0111
A : 0100 0001
N : 0100 1110
Splash = 0010 0000
S : 0101 0011
U : 0101 0101
T : 0101 0100
T : 0101 0100
I : 0100 1001
P : 0111 0000
I : 0100 1001
T : 0101 0100
A : 0100 0001
K : 0100 1011
CHANAWAN SUTTIPITAK มีทั้งหมด 19 Byte
หาค่าโดย 1 ตัวอักษร เท่ากับ 1 Byte
1 Byte เท่ากับ 8 Bit
19 คูณ 8 เท่ากับ 152 Bit
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น